วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

Nouvel An chinois (วันตรุษจีน)

Le Nouvel An chinois ou Nouvel An du calendrier chinois (trad. : 農曆新年 ; sim. : 农历新年 ; pin. : nóng lì xīn nián) ou « passage de l’année » (trad. : 過年 ; sim. : 过年 ; pin. : gùo nián ) est le premier jour du premier mois du calendrier chinois. C'est le début de la fête du printemps (trad. : 春節 ; sim. : 春节; pin. : chūn jié) qui se déroule sur quinze jours et s’achève avec la fête des lanternes (trad. : 元宵節 ; sim. : 元宵节 ; pin. : yúan xiāo jié).

Le calendrier chinois étant un calendrier luni-solaire, la date du Nouvel An chinois dans le calendrier grégorien varie d'une année sur l'autre, mais tombe toujours entre le 21 janvier et le 20 février. C’est, comme tous les commencements de mois lunaires chinois, le premier jour d'une nouvelle Lune. Par convention, l'alignement astronomique qui signale la nouvelle Lune est déterminé à l’observatoire de la Montagne Pourpre à Nankin.

Le Nouvel An est célébré officiellement en Chine (sept jours de congés) et à Taïwan (cinq jours), à Hong Kong et Macao (trois jours), ainsi que dans certains pays d’Asie où l’influence de la culture chinoise est importante, ou dont la population comprend une forte minorité de Chinois ethniques : Singapour et Malaisie (deux jours), Brunei et Indonésie (un jour), Viêt Nam (fête du Têt, trois jours, avec un jour de décalage avec la Chine tous les 22 ou 23 ans pour compenser le décalage horaire entre Pékin et Hanoï), Corée du Sud (fête de 새해 Seollal, trois jours). Les congés du Nouvel An, qui peuvent être prolongés par un week-end ou un pont, sont une période de migration intense, car nombreux sont ceux qui s’efforcent de rejoindre leur famille, depuis l’étranger parfois : embouteillages sur les routes et encombrements dans les gares et les aéroports sont la règle.

Il est observé individuellement partout dans le monde par les membres de la diaspora chinoise, et parfois également par les Japonais (vieux premier mois 旧正月), les Miao, les Mongols, les Tibétains, les Népalais et les Bhoutanais.


ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ตัวเต็ม: 春節, ตัวย่อ: 春节, พินอิน: Chūnjíe ชุนจีเหย๋) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ (ตัวเต็ม: 農曆新年, ตัวย่อ: 农历新年, พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งยวี่เย่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวจีเหย๋)

คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า 除夕 (พินอิน: Chúxì ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน

ตรุษจีน มีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Noël



Noël est une fête chrétienne célébrant chaque année la naissance de Jésus de Nazareth, appelée Nativité.
Cette fête donne lieu à des offices religieux spéciaux et à des échanges de cadeaux et de vœux. Dans l'année 354, Noël a été fixé officiellement au 25 décembre par le pape Libère. Parce que la plupart des Églises orthodoxes suivent toujours le calendrier julien qui présente un décalage de quatorze jours avec le calendrier grégorien désormais en usage officiellement, elles célèbrent Noël le 7 janvier du calendrier grégorien (c’est-à-dire le 25 décembre du calendrier julien). La popularité de la fête a fait que « Noël » est devenu aussi un prénom porté.

คริสต์มาส (Christmas หรือ X'Mas) คือเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน
คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า" Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

1.ชิเชน อิตซา คาบสมุทรยูคาตาน เม็กซิโก

ชิเชน อิตซาเป็นภาษามายาแปลว่า ต้นทางแห่งความสุขสบายของประชาชน ชิเชน อิตซาเป็นวิหารที่โด่งดังที่สุดของชนเผ่ามายา ถือเป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอารยธรรมมายา การผสมผสานทางโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหลากหลายชนิดของชิเชน อิตซา ทั้งพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคาน (เทพเจ้าสูงสุดของชาวมายาซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์) วิหารชัค มุล (รูปปั้นซึ่งเป็นศิลปะแบบมายา) ห้องโถงที่เต็มไปด้วยเสาหลายพันต้นและลานกว้างที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชนในอดีตนั้น แสดงให้เห็นถึงความพิเศษในเชิงสถาปัตยกรรมด้านการจัดวางองค์ประกอบของเนื้อที่และพื้นที่ใช้สอย โดยเฉพาะในส่วนของพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคานซึ่งถือเป็นพีระมิดแห่งสุดท้ายและเป็นพีระมิดที่กล่าวได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายาด้วย


2.รูปปั้นพระเยซูคริสต์ นครริโอเดอจาเนโร บราซิล

รูปปั้นพระเยซูคริสต์นี้ตั้งอยู่ที่ยอดเขากอร์โกวาโด มีความสูงราว 38 เมตร ได้รับการออกแบบโดยไฮตอร์ ดาซิลวา คอสตา ชาวบราซิล และสร้างโดยพอล ลันดอฟสกี้ ประติมากรชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโปแลนด์ ใช้เวลาในการสร้าง 5 ปี โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ตุลาคม ปี พ.ศ.2474 รูปปั้นพระเยซูคริสต์นี้ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของนครริโอเดอจาเนโร และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวบราซิล มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ราว 1,800,000 รายต่อปี



3.มาชู ปิกชู ประเทศเปรู

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรพรรดิ ปาชาคูเทค ยูปันกี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอินคา ได้สร้างเมืองแห่งหนึ่งบนภูเขาซึ่งปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกชื่อว่า มาชู ปิกชู (มีความหมายว่าภูเขาโบราณ) ปัจจุบันอยู่ในประเทศเปรู ที่ตั้งของเมืองนี้ค่อนข้างกันดารยากที่จะเข้าถึง โดยตั้งอยู่บนที่ราบสูงแอนดิส ลึกเข้าไปในป่าอเมซอนและอยู่เหนือแม่น้ำอุรุบัมบา ซึ่งภายหลังชาวอินคาได้อพยพออกจากเมืองนี้เนื่องจากเกิดโรคระบาดขึ้น หลังจากอาณาจักรอินคาล่มสลายจากการพ่ายแพ้สงครามให้กับชาวสเปน เมืองแห่งนี้ก็ได้หายสาบสูญไปกว่า 3 ศตวรรษ จนกระทั่งได้รับการค้นพบใหม่โดยฮิราม บิงแฮม นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2454



4.กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีนตั้งอยู่บนพรมแดนทางตอนเหนือของประเทศจีน เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน (ราวปี พ.ศ.322-337 หรือ 221-206 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงป้อมปราการให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่ามองโกลในอดีต มีความยาวทั้งสิ้นกว่า 6,700 กิโลเมตร ถือเป็นสิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา ผู้คนจำนวนหลายพันคนต้องอุทิศชีวิตให้กับสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมานี้ นอกจากนี้ เคยมีผู้กล่าวไว้ว่ากำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งก่อสร้างเพียงอย่างเดียวในโลกที่สามารถมองเห็นได้จากอวกาศ กำแพงเมืองจีนได้รับการคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2529



5.เปตรา ประเทศจอร์แดน

เปตราเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าหิน เมืองโบราณเปตราตั้งอยู่ในทะเลทราย เป็นเมืองหลวงของชนเผ่านาบาเชียนซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจอร์แดนในสมัยก่อน สร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์อาเรตัสที่ 4 (9 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ.40) ชาวนาบาเชียนสร้างเมืองแห่งนี้โดยใช้วิธีการแกะสลักหินให้เป็นช่องอุโมงค์ โรงละครของเมืองแห่งนี้ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงละครแบบกรีก-โรมันมีเนื้อที่สามารถจุผู้ชมได้ถึง 4,000 คน ส่วนหน้าของวิหารเอล เดียร์ ซึ่งสูง 42 เมตร ในเมืองแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอีกแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกรีกโบราณที่หลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้


6.ทัชมาฮาล เมืองอักรา ประเทศอินเดีย

ทัชมาฮาลสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาห์ จาฮัน เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพของพระนางมุมทัซ มาฮาล มเหสีที่พระองค์ทรงรักมากที่สุดซึ่งเสียชีวิตขณะมีอายุได้เพียง 39 ชันษาหลังจากที่ให้กำเนิดบุตรคนที่ 14 ทัชมาฮาลสร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศักราช 1631-1648 สร้างโดยใช้หินอ่อนสีขาวทั้งหลัง รวมทั้งใช้วัสดุในการตกแต่งชั้นเลิศจากทั่วเอเชียซึ่งขนส่งโดยใช้ช้างกว่า 1,000 ตัว ทัชมาฮาลได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปะแบบมุสลิมที่สวยงามสมบูรณ์แบบมากที่สุดในอินเดีย นอกจากนี้ ทัชมาฮาลยังเป็นสถานที่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากที่สุดของอินเดีย มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมทัชมาฮาลราวปีละเกือบ 3 ล้านคน


7.สนามกีฬาโคลอสเซียม กรุงโรม ประเทศอิตาลี

สิ่งก่อสร้างรูปทรงโค้งเป็นวงกลม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของกรุงโรมแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเหล่านักรบโรมันและเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน สนามกีฬาแห่งนี้สูง 48 เมตร ยาว 188 เมตร และกว้าง 156 เมตร แนวคิดในการออกแบบโคลอสเซียมนี้ยังคงมีความสำคัญมาจนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากการออกแบบสนามกีฬาแทบทุกแห่งในโลกนับตั้งแต่นั้นมาต้องปฏิบัติตามแม่แบบดั้งเดิมของโคลอสเซียมอย่างปฏิเสธไม่ได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้สิ่งที่ได้รับรู้จากภาพยนตร์และหนังสือบันทึกทางประวัติศาสตร์จะแสดงให้เห็นว่าสนามกีฬาแห่งนี้มีแต่การต่อสู้และการแข่งขันที่โหดร้ายต่างๆ นานา เพื่อความสุขของผู้ชมเท่านั้นก็ตาม



Le cocotier est formé d'un tronc (ou stipe) surmonté d'une large couronne de feuilles. À l'aisselle de chaque feuille se trouve généralement une inflorescence qui se développe en un régime chargé de noix de coco. Le tronc ou stipe s'élargit quelquefois à la base et forme un bulbe qui augmente sa résistance, notamment aux cyclones. D'aspect relativement lisse et de couleur claire, le tronc porte des marques régulières : chaque feuille produite par l'arbre laisse une cicatrice en forme de croissant. L'écart entre ces cicatrices permet de distinguer les deux types de cocotier : les Grands et les Nains. Chez les Grands, l'écart entre deux cicatrices foliaires est supérieur à 5 cm. Chez les Nains, il ne dépasse pas 2,5 cm. Dans le sol, le tronc prend l'aspect d'un cône renversé, dénommé bulbe radiculaire. De toute la surface du bulbe partent plusieurs milliers de racines assez fines qui forment un matelas dense, réparti essentiellement dans le premier mètre du sol. Certaines racines atteignent cependant 4 à 5 mètres de profondeur.

La couronne foliaire compte une trentaine de feuilles, dépassant quelquefois six mètres de long. Un bourgeon unique fabrique l'ensemble des feuilles et des fleurs. Ce bourgeon fonctionne en continu : le cocotier pousse donc inexorablement, et cela jusqu’à sa mort. Bien que le bourgeon soit très protégé, son unicité donne à l'arbre une certaine fragilité. Lorsqu'un insecte réussit à pénétrer dans le cœur et dévore le bourgeon, le cocotier est condamné. À l'aisselle de chaque feuille apparaît généralement une spathe pointue qui grandit et finit souvent par dépasser un mètre de longueur. Arrivée à terme, la spathe se fend et libère l'inflorescence. Cette dernière est formée d'un axe sur lequel s'insèrent des épillets. Les fleurs femelles, situées au bas des épillets, sont des globules de deux à trois centimètres de diamètre. Leur nombre est généralement de 20 à 30, mais peut atteindre plusieurs centaines. Les fleurs mâles, plus nombreuses, occupent la partie supérieure des épillets. Encore fermées, leur forme rappelle celle d'un grain de riz.

Pour toutes les variétés de cocotier, l'organisation des fruits est similaire. Un épiderme, d'abord coloré, puis gris-brun à maturité, entoure une enveloppe coriace et fibreuse appelée « bourre ». Les noix vendues sur les marchés ont déjà été débourrées pour réduire leur poids et leur volume. Ensuite vient la coque, brun sombre et très résistante, qui adhère fortement à la bourre. De forme oblongue à sphérique, elle se renforce de trois côtes longitudinales plus ou moins marquées. Une fine pellicule d'un brun rougeâtre, le tégument séminal, forme un lien entre la coque et un albumen blanc, brillant, de 10 à 15 mm d'épaisseur. L’albumen est communément désigné sous le terme d'amande. Inséré sous l'un des trois pores germinatifs, se trouve un embryon d'environ 5 mm de long. Un liquide opalescent et sucré occupe jusqu'àux trois quarts de la cavité interne. On l'appelle communément « eau de coco », le terme « lait de coco » étant de préférence réservé à des préparations à base d'amande broyée.



มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เราเรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น

5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม ด้วยความจงรักภักดี และมีวัตถุประสงค์ เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พ่อแห่งชาติ”

ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป

วัตถุประสงค์ของการจัด วันพ่อแห่งชาติ ที่คณะผู้ริเริ่มกำหนดคือ

เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม


เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ


เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

ในการนี้คณะกรรมการได้จัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ส่งเสริมการศึกษาของบุตรธิดา นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด งดเว้นอบายมุขทุกชนิด อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน และมีภรรยาเพียงคนเดียว และได้แนะนำกิจกรรมสำหรับลูกในวันพ่อ คือ ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือบำเพ็ญกุศล ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของพ่อ ซึ่งยังดำเนินการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

วันที่ ๕ ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย

โดยทั่วไป “วันชาติ” มักจะหมายถึง วันเฉลิมฉลองที่ประเทศนั้นๆได้รับอิสรภาพ เป็นเอกราช หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ รัฐ ราชวงศ์ วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ วันเกิดประมุขของรัฐ หรืออาจจะเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แต่มักจะถือเป็นวันหยุดประจำของชาติ ซึ่ง “วันชาติ” ของแต่ละประเทศจะเป็นวันใด ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศโมร็อกโก ตรงกับวันที่ ๒ มีนาคม สหรัฐอเมริกา ตรงกับวันที่ ๔ กรกฎาคม ฝรั่งเศสตรงกับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม อินโดนีเซียตรงกับวันที่ ๑๗ สิงหาคม บราซิลตรงกับวันที่ ๗ กันยายน และเคนย่าตรงกับวันที่ ๑๒ ธันวาคม เป็นต้น

“วันชาติ” ของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีเพียงวันเดียว แต่ก็มีบางประเทศเช่นกันที่มี “วันชาติ” มากกว่าหนึ่งวัน ทั้งนี้เพราะประเทศนั้นๆ อาจจะนับวันที่ได้รับเอกราชหรือวันที่ปลดแอกจากการเป็นอาณานิคม และวันที่มีการสถาปนาการปกครองขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะมิใช่วันเดียวกัน แต่เป็นวันสำคัญเสมือนวันชาติเท่าๆกัน เช่น ประเทศปากีสถาน จะมีวันชาติตรงกับวันที่ ๒๓ มีนาคม ที่เขาเรียกว่า “Republic Day” และวันที่ ๑๔ สิงหาคม เป็น “Independence Day” ส่วนฮังการี ก็มีถึง ๓ วันคือ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๐ สิงหาคม และ ๒๓ ตุลาคม สำหรับจีน นอกจากจะมีวันชาติตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม แล้ว ที่ฮ่องกง อันเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ที่มีขึ้นหลังจากอังกฤษคืนเกาะฮ่องกงให้จีนก็มีการเฉลิมฉลองวันที่ตรงกับวันสถาปนาการปกครองพิเศษนี้ขึ้น ในวันที่ ๑ กรกฎาคม อีกด้วย

สำหรับประเทศไทย เราเคยได้มีการกำหนดให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็น “วันชาติ”ของไทย ด้วยถือว่าวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “วันชาติ” ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ โดย พ.อ.พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติ ๒๔ มิถุนายน ครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๔๘๒ ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็น “วันชาติ” ของไทยอยู่นานถึง ๒๑ ปี ครั้น วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า

ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ ๒๔ มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง

คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายนเสีย

ดังนั้น นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันชาติ” ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ตามปกติ การจัดงาน “วันชาติ” ของประเทศต่างๆก็จะมีกิจกรรมและรูปแบบแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการกล่าวสุนทรพจน์ การจัดขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง การจุดพลุดอกไม้ไฟอย่างเอิกเกริก รวมไปถึงการแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้น แต่ในประเทศไทย เนื่องจากวันชาติ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมเฉลิมฉลองอยู่แล้ว กอปรกับประเทศไทยยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อน และคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เห็นกันอยู่ปัจจุบัน

ดังนั้น “วันชาติ” ของเราจึงดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าใดนัก เพราะชาวไทยทุกหมู่เหล่าล้วนตัองการจัดกิจกรรมเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อหลวงของแผ่นดิน” มากกว่าประเด็นอื่น อย่างไรก็ดี หากเราจะระลึกว่าวันนี้ ก็เป็น “วันชาติ”ของไทยด้วย แล้วจัดกิจกรรมต่างๆที่จะแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อ “ประเทศชาติ” ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และความเสียสละมาอย่างยาวนานเช่นไร ก็อาจจะทำให้ วันนี้ มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เพื่อน...คุณรู้จักคำนี้ดีแค่ไหน

>คงไม่มีใครที่จะกล้าลุกขึ้นมาประกาศศักดาว่า
>สามารถยืนอยู่บนโลกนี้ได้โดยลำพัง และปฏิเสธว่า เพื่อน คือ
>สิ่งฟุ่มเฟือยที่สุดเท่าที่มีมาในประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์อันยาวนาน
>เพราะแท้จริงแล้ว ไม่มีใครสามารถยืนอยู่บนโลกนี้เพียงคนเดียวได้
>ไม่ว่าเขาจะเป็นคนเข้มแข็งหรือต่อให้มีขาแข็งสักเพียงไหน
>มันต้องมีสักวัน สักเวลา สักวินาที
>ที่เขาอยากจะทรุดตัวลงนั่งคุยกับใครบางคน
>ซึ่งเขารู้ว่าได้ยืนอยู่ข้างเขาตลอดมา และพร้อมจะอยู่กับเขาตลอดไป
> >สิ่งที่เดินทางมาพร้อมกับเพื่อนและอบอวลอยู่ในคำ ๆ นี้ คือ
>มิตรภาพ ซึ่งอาจจะก่อตัวขึ้นได้ทุกขณะ
>ตั้งเค้าเร็วกว่าพายุดีเปรสชั่นใด ๆ
>เพียงแค่ตาสบตา ริมฝีปากกระตุกทำมุมน่ารักกับใบหน้า
>เชื่อไหมว่าแค่นี้มิตรภาพก็เดินทางมาถึงแล้ว
>มิตรภาพมีความหมายและความสำคัญกับชีวิต ยิ่งใหญ่
>เพราะมันเริ่มต้นจากการให้ และสามารถสิ้นสุดลงด้วยเข้าใจ
>ไม่เหมือนกับความรักที่มักเริ่มจากการให้ ดำเนินต่อไปด้วยการเรียกร้อง
>และมักจะสิ้นสุดด้วยการมองหน้ากันไม่ติด
> >ฉันไม่ใช่คนมีเพื่อนมาก
>เพราะถือว่าเพื่อนไม่ใช่ฟุตบอลที่เมื่อลงสนามก็ต้องรีบวิ่ง
>ไปยิงประตูทำแต้มให้ได้มากที่สุดก่อนหมดเวลา
>เพื่อนไม่กฎกติกา มิตรภาพไม่มีการพักครึ่งหรือหมดเวลา
>และความสัมพันธ์ไม่มีคำว่าแพ้ชนะ ฉันจึงไม่รีบร้อนที่จะมีเพื่อน
>มันเป็นเรื่องง่ายในการที่จะหาเพื่อนใหม่
>แต่มันเป็นเรื่องยากที่จะรักษามิตรภาพระหว่างเรากับเพื่อนให้คงอยู่ตลอดไป
>เพราะเพื่อนเป็นสสารที่แปลก ยิ่งคบกันนาน ก็ยิ่งเปราะบาง
>และง่ายต่อการแตกหัก
> >มิตรภาพของเพื่อนที่เติบโตไปพร้อมกับวันเวลาในการคบหา
>ทำให้คนสองคน (หรือมากกว่านั้น) สนิทกันมากขึ้น
>จนบ่อยครั้งความสนิทก็ได้ทำให้เราละเลยหรือมองข้ามอะไรบางอย่างไป
>บ่อยครั้งความสนิททำให้เราทำร้ายจิตใจเพื่อนโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
>หรือโดยที่เราไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำ
>บางครั้งเราอาจจะปรับความเข้าใจกันได้
>แต่ก็มีไม่น้อยที่มันลุกลามและรุนแรงเกินที่เราจะไหวทัน
>และกว่าจะรู้ตัวมันก็ทำลายอะไรต่อมิอะไรย่อยยับลงไปหมดแล้ว
>ทั้งนี้ทั้งนั้นเชื่อไหมว่าบางทีมันอาจจะเกิดเพราะคำมักง่ายที่พลั้งปากไปเพียงไม่กี่คำเท่านั้นเอง
> >ฉันเคยเห็นเพื่อนที่คบกันมาเกือบสิบปี
>เลิกคบกันเพียงเพราะอีกคนลืมนัด และทิฐิเกินกว่าจะขอโทษ
>และอีกคนก็ใจแข็งเกินกว่าจะยอมให้อภัย อาจจะดูงี่เง่า
>(ซึ่งฉันก็ว่ามันงี่เง่า) แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว ก็อย่างที่บอก
>เพื่อนเป็นสสารที่แปลก ยิ่งคบกันนาน ก็ยิ่งเปราะบาง
>และง่ายต่อการแตกหัก
>อย่าให้ความสนิทเป็นดาบสองคมที่จะทำลายมิตรภาพและคำว่าเพื่อนลงเลย
> >มันอาจจะง่ายในการที่เราจะหา “เพื่อนใหม่”สักคน
>แต่มันยากกว่านะ ที่เราจะมี “เพื่อนเก่า”สักคน “เพื่อน”
>ได้ยืนอยู่ข้างเราตลอดมา และพร้อมจะอยู่กับเราตลอด

นิทานความรัก: ความรักของ...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเจ้าชายองค์หนึ่ง

เขาได้ออกเดินทางเพื่อตามหาเจ้าหญิงที่สวยที่สุดในโลก

เขาเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ท่องเที่ยวไปหลายประเทศ

จนกระทั่งวันหนึ่งเขาเจอเจ้าหญิงองค์หนึ่ง


เธอเป็นผู้หญิงที่สวยมาก สวยมากที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็นมาในชีวิต

ทำให้เขาหลงรักเธอ และอยากได้เธอมาเป็นคู่ชีวิต

แต่มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่เขาคิดไว้...

มีเจ้าชายที่มาจากหลายๆ อาณาจักรเข้ามาขอเธอแต่งงาน

แต่การที่จะแต่งงานกับเธอได้ต้องผ่านการทดสอบมากมายนานนัปประการ

ซึ่งในที่สุดเขาก็สามารถผ่านการทดสอบเลือกคู่มาได้แต่เพียงผู้เดียว

ทว่า... ก่อนที่เขาจะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงนั้น

มีมังกรท่าทางดุร้ายตัวหนึ่งได้ลักพาตัวเจ้าหญิงไป

เขาได้ออกตามล่าเจ้ามังกรจนตามทันและขับไล่มันได้สำเร็จหลังจากที่ต่อสู้กับมันอย่างดุเดือด

และได้แต่งงานกับเจ้าหญิงและอยู่อย่างมีความสุขที่ปราสาทของตน...

The Princess...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเจ้าหญิงองค์หนึ่ง

เธอเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก

เธออยู่ในอาณาจักรที่ห่างไกลและเจริญรุ่งเรือง

เธอชอบออกไปเดินเล่นในป่าเป็นประจำด้วยความรักที่มีต่อธรรมชาติ

จนกระทั่งวันหนึ่งเธอได้พบกับพ่อมดรูปงามคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนั้น

ทำให้เธอหลงรักเขา และอยากอยู่เคียงข้างเขาชั่วชีวิต

แต่มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่เธอคิดไว้...

มีเจ้าชายที่มาจากหลายๆ อาณาจักรเข้ามาขอเธอแต่งงาน

พวกเขาได้ฝ่าฝันกับการทดสอบเลือกคู่ของพระราชาซึ่งเป็นพ่อของเธอ

ซึ่งในที่สุดก็มีเจ้าชายคนหนึ่งที่สามารถผ่านการทดสอบมาได้แต่เพียงผู้เดียว

ทว่า... เธอไม่ได้รักเจ้าชาย เธอไม่อยากแต่งงานกับเขา ต่อให้พ่อมดจะมีหน้าตาน่ารังเกียจกว่าเจ้าชาย เธอก็ยินดีที่จะเลือกพ่อมดมากกว่าเสียอีก

ก่อนวันแต่งงาน เธอขอร้องให้พ่อมดคนที่เธอรักส่งมังกรมาพาตัวเธอไปให้ไกลๆ

แต่เจ้าชายก็ตามมาทันพร้อมทั้งสู้กับมังกรจนกระทั่งมันพ่ายแพ้บินหนีไปและพาตัวเธอกลับไป

เธอไม่มีโอกาสได้เจอกับคนที่เธอรักอีกเลย ถึงได้แต่งงานแต่ก็ไม่มีความสุข...

The Wizard...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีชายหนุ่มหน้าตาอัปลักษณ์คนหนึ่ง

เขาเป็นคนที่มีจิตใจดีงามมาก

เขาอยู่ในป่าแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ห่างจากอาณาจักรมากนัก

ซึ่งในอาณาจักรนั้นมีเจ้าหญิงที่สวยที่สุดในโลกอยู่ด้วย

เขาแอบชอบเจ้าหญิงมานานแล้วแต่เพราะหน้าตาไม่สู้จึงฝึกฝนเวทมนตร์เพื่อเป็นพ่อมด

และก็หาโอกาสออกมาพบกับเจ้าหญิงจนได้

เขาได้ใช้เวทมนตร์เสกให้รูปกายให้งดงามยิ่งกว่าผู้ชายคนไหนในโลก

ซึ่งเจ้าหญิงก็ตกหลุมรักเขา เขาตั้งใจว่าจะให้เธอรักเขาก่อนแล้วค่อยเปิดเผยใบหน้าที่แท้จริง

แต่มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาคิดไว้...

เขาเกิดกลัวขึ้นมาว่าถ้าเธอเห็นหน้าตาจริงๆ ของเขาแล้วเธออาจจะรับไม่ได้

เขาก็เลยรู้สึกท้อใจ และคิดว่าถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปคงจะไม่ดีแน่

จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้ข่าวว่ามีเจ้าชายรูปงามองค์หนึ่งผ่านการทดสอบเลือกคู่ของพระราชาได้

ทว่า... ดูเหมือนเธอจะไม่ยอมแต่งงานกับเจ้าชายเลย

ก่อนวันแต่งงาน เธอเข้ามาของร้องให้เขาพาเธอไปไกลๆ เพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกัน

เขาก็เลยเห็นว่าน่าจะเป็นการดีเลยส่งมังกรพาตัวเธอไปแล้วให้เจ้าชายไปช่วยเพื่อที่จะให้เธอเห็นว่ามีคนที่ดีกว่าเขา

เขาสั่งให้มังกรออมมือให้เจ้าชายและหนีทันทีที่เห็นว่าสู้มานานพอแล้ว แล้วเธอก็ได้แต่งงานกับเจ้าชายในที่สุด...



"หวังว่าเธอคงจะมีความสุขนะ..."